วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

การสื่อสารและระบบเครือข่าย

ระบบสื่อสาร
ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์สำหรับการติดต่อสื่อสาร
อีเมลล์ (E-mail)
อินแสตนท์เมสเสจจิ้ง  (Instant messaging : IM)
อินเทอร์เน็ตเทเลโฟน (Internet telephone)
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce)
ระบบการสื่อสาร
1. อุปกรณ์ส่งและรับข้อมูล (sending and receiving device)
2. ช่องทางสื่อสาร (communication channel)
3. อุปกรณ์เชื่อมต่อ (connection device)
4.การกำหนดรูปแบบในการขนส่งข้อมูล (data transmission specification)
ช่องทางสื่อสาร
1. การเชื่อมต่อแบบมีสาย
2. การเชื่อมต่อแบบไร้สาย
การเชื่อมต่อแบบมีสาย
สายคู่ตีเกลียวหรือสายโทรศัพท์ (Telephone line)
สายโคแอกเชียล (Coaxial cable)
สายเส้นใยนำแสง (Fiber-optic cable)
การเชื่อมต่อแบบไร้สาย
1. อินฟราเรด (Infrared)
2. สัญญาณวิทยุ (Broadcast radio)
3. Wi-FI (wireless fidelity)
4. ไมโครเวฟ (Microwave)
5. ดาวเทียม (Satellite)
6. GPS
7. บลูทูธ (Bluetooth)
อุปกรณ์เชื่อมต่อ
โมเด็ม (MODEM) เป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณ ย่อมาจากโมดูเลชัน-ดีโมดูเลชัน (Modulation Demodulation)
         1. โมดูเลชัน (modulation) หมายถึง กระบวนการในการเปลี่ยนสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะล็อก
2.     ดีโมดูเลชัน (demodulation) เป็นกระบวนการเปลี่ยนสัญญาณแอนะล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล
ชนิดของโมเด็ม
1. โมเด็มแบบภายนอก (External)
2. โมเด็มแบบภายใน (Internal)
3. โมเด็มแบบพีซีการ์ด (PC Card)
4. โมเด็มแบบไร้สาย (Wireless)
ชนิดของการเชื่อมต่อ
1. หมุนโทรศัพท์ (Dial-up)
2. ดีเอสแอล (Digital Subscriber Line : DSL) หรือ เอดีเอสแอล (Asymmetric Digital Subscriber Line : DSL)
3. เคเบิลโมเด็ม (Cable modem)
4.ดาวเทียม (Satellite/air connection service)
5.     เซลลูล่าร์  (Cellular service)
การขนส่งข้อมูล    
การขนส่งข้อมูล คือ การขนส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปของไฟล์ ภาพ เสียง หรือตัว
อักษร
แบนด์วิดท์
แบนด์วิดท์ (bandwidth) เป็นการวัดความจุของช่องทางสื่อสาร  ซึ่งประสิทธิภาพของการส่งจะขึ้นอยู่กับการส่งผ่านข้อมูลในช่องสัญญาณว่าสามารถส่งได้มากน้อยเพียงใดต่อหน่วยเวลา
ชนิดของแบนด์วิดท์
1.  วอยซ์แบนด์ (voice band)
2.  มีเดียมแบนด์ (medium band)
3.  บรอดแบนด์ (broadband)
โพรโทคอล
โพรโทคอล (Protocol) เป็นข้อตกลงสำหรับการรับส่งข้อมูลในระบบสื่อสาร ซึ่งมีอยู่หลายชนิด แต่โพรโทคอลที่ใช้งานในระบบอินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission control protocol/Internet protocol) โดยจะทำหน้าที่เกี่ยวกับ
การระบุอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล
การเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลระหว่างการรับและส่งข้อมูล
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศและใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกัน
 คำศัพท์เฉพาะที่พบบ่อยเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โหนด (node)
ไคลแอนต์ (client) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์รับบริการ
เซิร์ฟเวอร์ (server ) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการ
ฮับ ( hub)
การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย  (Network Interface Card : NIC)
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS)

2.      การประมวลผลแบบกระจาย (distributed processing)
3.      คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (host computer)
4.      ผู้ดูแลเครือข่าย  (network manager)

ชนิดของเครือข่าย
1. เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่หรือแลน (Local area network)
    - เครือข่ายเฉพาะที่ภายในบ้าน (Home network)
    - WLAN
2. เครือข่ายบริเวณนครหลวงหรือแมน (Metropolitan  area network)
3. เครือข่ายบริเวณกว้างหรือแวน (Wide area network)
สถาปัตยกรรมเครือข่าย
สถาปัตยกรรมเครือข่าย (network architecture)  เป็นการอธิบายเกี่ยวกับ
โครงร่างเครือข่ายแบบต่างๆ
วิธีการเชื่อมต่อเครือข่าย
ลักษณะการใช้งานเครือข่าย
การแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ
สามารถแบ่งออกได้ 4 แบบ ตามรูปแบบของการเชื่อมต่อหรือที่เรียกว่า โทโพโลยี (topology)

1. แบบดาว     Star
2. แบบบัส      Bus
3. แบบวงแหวน Ring
4. แบบลำดับชั้น Hierarchical

โทโพโลยีแบบดาว
1.      การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งหรืออุปกรณ์ต่อพ่วงเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ส่วนกลาง
2.      การสื่อสารทำได้โดยการขนส่งข้อมูลเข้าออกไปยังส่วนกลาง ซึ่งจะถูกควบคุมโดยการหยั่งสัญญาณ (polling) นั่นคือแต่ละอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายจะมีการถาม หรือการหยั่งสัญญาณว่ามีเครื่องหนึ่งเครื่องใดส่งสัญญาณอยู่ในระบบหรือไม่
โทโพโลยีแบบบัส
1.      คือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันบนสายเส้นเดียวกันตลอดทั้งสายสัญญาณ  การส่งข้อมูลจะผ่านไปในสายที่เชื่อมต่อที่เรียกว่าบัส (BUS)
2.      ข้อมูลที่ส่งผ่านไปในบัส จะถูกตรวจสอบโดยอุปกรณ์แผ่นวงจรเครือข่ายที่ติดอยู่ที่คอมพิวเตอร์แต่ละตัวว่าเป็นข้อมูลของตนเองหรือไม่ ถ้าใช่ก็สามารถเปิดดูข้อมูลนั้นได้
โทโพโลยีแบบวงแหวน
1. จะมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวงกลม
2. ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์บริการไฟล์หรือคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง
โทโพโลยีแบบลำดับชั้น
1.      ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางคล้ายกับเครือข่ายแบบดาว
2.      คอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่อยู่สูงที่สุดของชั้นจะเป็นเมนเฟรม คอมพิวเตอร์ชั้นล่างของเมนเฟรมอาจจะเป็นมินิคอมพิวเตอร์ และชั้นล่างสุดอาจจะเป็นไมโครคอมพิวเตอร์
ลักษณะการใช้งานระบบเครือข่าย
สามารถแบ่งลักษณะการใช้งานระบบเครือข่ายได้ดังนี้
1.    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ปลายทาง (Terminal)
2.    ระบบเครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ (Client/Server)
3.    ระบบเครือข่ายแบบโหนดจุด
          4.  (Peer-to-peer)
อินเทอร์เน็ตสำหรับองค์กร
อินทราเน็ต (Intranet)
จะต้องมีรหัสบัญชีผู้ใช้
ใช้งานเฉพาะภายในองค์กร
เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet)
ใช้งานเฉพาะภายในองค์กร และ สามารถกำหนดสิทธิให้เข้าถึงองค์กรอื่นได้
ไฟร์วอลล์ (Firewall)
เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย ทั้งจากภายนอกและภายในเครือข่าย

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรื่องที่ถนัดมากที่สุด

เรื่องที่ถนัดมากที่สุด คือ การเล่นฟุตบอลและดูการแข่งขันฟุตบอล

ชอบทีมสโมสร  บาเซโลนา
ชอบทีมประเทศ  อาเจนติน่า

                ฟุตบอล  เป็นกีฬาประเภททีมที่เล่นระหว่างสองทีมโดยแต่ละทีมมีผู้เล่น 11 คน โดยใช้ลูกบอล เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก
โดยจะเล่นในสนามหญ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ สนามหญ้าเทียม โดยมีประตูอยู่กึ่งกลางที่ปลายสนามทั้งสองฝั่ง เป้าหมายคือทำคะแนนโดยพาลูกฟุตบอลให้เข้าไปยังประตูของฝ่ายตรงข้าม ในการเล่นทั่วไปผู้รักษาประตูจะเป็นผู้เล่นเพียงคนเดียวที่สามารถใช้มือหรือแขนกับลูกฟุตบอลได้ ส่วนผู้เล่นอื่นๆจะใช้เท้าในการเตะลูกฟุตบอลไปยังตำแหน่งที่ต้องการ บางครั้งอาจใช้ลำตัว หรือ ศีรษะ เพื่อสกัดลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่กลางอากาศ โดยทีมที่พาลูกฟุตบอลเข้าประตูฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนเท่ากันให้ถือว่าเสมอ แต่ในบางเกมที่เสมอกันในช่วงเวลาปกติแล้วต้องการหาผู้ชนะจึงต้องมีการต่อเวลาพิเศษ และ/หรือยิงลูกโทษขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของรายการแข่งขันนั้นๆ
กติกาการเล่นฟุตบอล
ในกีฬาฟุตบอลมีกติกาสากลทั้งหมด 17 ข้อหลักที่มีการใช้ในฟุตบอลทั่วโลก โดยกติกาอาจมีการดัดแปลงบ้างสำหรับฟุตบอลเด็ก และฟุตบอลหญิง
ผู้เล่น อุปกรณ์ และกรรมการ
ในแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นสูงสุด 11 คน ที่สามารถลงเล่นในสนาม โดยสามารถมีผู้เล่นสำรองสามารถนั่งเพื่อรอเปลี่ยนตัว โดยในสิบเอ็ดคนนั้นจะต้องมี ผู้รักษาประตูหนึ่งคน ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการจะมีกติกาเพิ่มว่าจะต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 7 คน(ในกรณีที่ผู้เล่นโดนใบแดง) เพื่อทำการแข่งขันได้ โดยผู้เล่นทุกคนยกเว้นผู้รักษาประตู ไม่สามารถใช้มือหรือแขนสัมผัสลูกฟุตบอลได้(แต่จะสามารถใช้ส่วนอื่นยกเว้นมือแขนเพราะจะFouls ทันทีเมื่อกรรมการเห็น)
อุปกรณ์หลักในการเล่นฟุตบอล โดยลูกฟุตบอลจะต้องมีขนาดที่ได้มาตรฐานเป็นทรงกลม มีขนาดเส้นรอบวงไม่เกิน 27-28 นิ้ว และน้ำหนัก 396 453 กรัม ผู้เล่นต้องมีการใส่ชุดที่ประกอบไปด้วย เสื้อ กางเกง ถุงเท้า รองเท้า และสนับแข้ง โดยต้องไม่ใส่เครื่องประดับที่อาจเป็นอันตรายได้ไม่ว่า อัญมณีหรือนาฬิกา และผู้รักษาประตูต้องใส่ชุดที่แตกต่างจากผู้เล่นผู้อื่น และแตกต่างจากกรรมการเช่นกัน   จากฟีฟ่า
ระหว่างการเล่น ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนตัวกับตัวสำรองได้โดยในการแข่งขันทั่วไปสามารถเปลี่ยนตัวในแต่ละนัดการแข่งขันได้ไม่เกิน 3 ครั้ง โดยสาเหตุในการเปลี่ยนตัวอาจเกิดจาก การบาดเจ็บ ความเหนื่อยล้า หรือเปลี่ยนแผนการเล่น โดยผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวออกแล้วไม่สามารถเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้อีกในนัดนั้น
กรรมการจะเป็นบุคคลที่มีหน้าที่ตัดสินผลการแข่งขัน รวมถึงควบคุมและจับเวลาการแข่งขัน โดยในการแข่งขันจะมีผู้ช่วยกรรมการ 2 คน ซึ่งผู้เล่นจะไม่สามารถคัดค้านกรรมการได้ในเวลาเล่นเพราะตัดสินไปแล้วจะไม่สามารถแก้ได้
สนามฟุตบอล



สนามฟุตบอลและขนาดมาตรฐาน
สนามฟุตบอลมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวระหว่าง 100-110 เมตร และความกว้างระหว่าง 64-75 เมตร โดยเส้นขอบสนามของด้านยาวจะเรียกว่า "เส้นข้าง" ขณะที่ขอบสนามของด้านกว้างจะเรียกว่า "เส้นประตู" โดยคานประตูจะตั้งอยู่กึ่งกลางบนเส้นประตู โดยมีความสูง 2.44 เมตร (8 ฟุต) เหนือจากพื้นดิน และเสาประตูจะห่างกัน 7.3 เมตร (8 หลา) เสาและคานประตูจะต้องมีสีขาว ตาข่ายจะมีการขึงด้านหลังประตู แต่อย่างไรก็ตามตาข่ายประตูไม่ได้มีกำหนดไว้ในกติกาสากล
ด้านหน้าประตูจะเป็นบริเวณเขตโทษ ซึ่งแสดงถึงบริเวณที่ผู้รักษาประตูสามารถถือบอลได้ และยังคงใช้ในการเตะลูกโทษ
ระยะเวลาการแข่งขัน
การแข่งขันจะแบ่งออกเป็นสองครึ่ง โดยครึ่งละ 45 นาที โดยเวลาการแข่งขันจะมีการนับตลอดเวลา แม้ว่าฟุตบอลจะถูกเตะออกนอกสนามและกรรมการสั่งให้หยุดเล่นก็ตาม ระหว่างครึ่งจะมีเวลาพักให้ 15 นาที กรรมการจะเป็นคนควบคุมเวลา และจะทำการทดเวลาบาดเจ็บในช่วงท้ายของแต่ละครึ่งเพื่อทดแทนเวลาที่เสียไป ระหว่างการเล่น โดยเมื่อจบการแข่งขันกรรมการจะทำการเป่านกหวีดเพื่อหยุดการแข่งขัน
ในการแข่งขันแบบลีก จะมีการจบการแข่งขันสำหรับผลเสมอ แต่สำหรับการแข่งขันที่ต้องรู้ผลแพ้ชนะจะมีการต่อเวลาพิเศษ(ง่ายๆคือการแข่งชิงถ้วย) ซึ่งจะประกอบไปด้วย 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที โดยถ้าคะแนนยังคงเสมอกันจะมีการให้เตะลูกโทษ (ด้านการเตะลูกโทษมีคนวิจัยมาว่าทีมไหนเตะก่อนจะมีเปอร์เซนต์การชนะมากกว่าทีมที่เตะทีหลัง)
ทีมชาติ
การแข่งขันฟุตบอลในระดับโลกนั้น มีการแข่งขันสูงสุดคือ ฟุตบอลโลก ที่จัดขึ้นทุก 4 ปี ซึ่งทีมที่ร่วมเล่นจะเป็นทีมชาติจากแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกของฟีฟ่า โดยแต่ละทีมจำเป็นต้องผ่านรอบคัดเลือก ของทางสมาพันธ์ เพื่อมีสิทธิเข้าร่วมเล่น โดยในแต่ละสมาพันธ์จะมีจำกัดจำนวนทีมที่ร่วมเล่นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผลงานของแต่ละทีมในอดีต โดยทางฟีฟ่าจะเป็นทางกำหนด และนอกจากฟุตบอลโลกแล้ว ในแต่ละสมาพันธ์จะมีการแข่งขันสูงสุดของแต่ละสมาพันธ์เอง ซึ่งจัดขึ้นทุก 4 ปี โดยผู้ชนะจากแต่ละสมาพันธ์จะทำการแข่งขันกันในคอนเฟเดอเรชันส์คัพพร้อมกับทีมที่ชนะเลิศในฟุตบอลโลกครั้งล่าสุด
นอกเหนือจากการแข่งขันที่จัดโดยฟีฟ่า การแข่งขันฟุตบอลทีมชาติที่เป็นที่จับตามองได้แก่การแข่งขันฟุตบอลในกีฬาระหว่างประเทศ เช่น โอลิมปิก (ทั่วโลก) เอเชียนเกมส์ (ทวีปเอเชีย) หรือ ซีเกมส์ (เฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)