วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

การสื่อสารและระบบเครือข่าย

ระบบสื่อสาร
ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์สำหรับการติดต่อสื่อสาร
อีเมลล์ (E-mail)
อินแสตนท์เมสเสจจิ้ง  (Instant messaging : IM)
อินเทอร์เน็ตเทเลโฟน (Internet telephone)
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce)
ระบบการสื่อสาร
1. อุปกรณ์ส่งและรับข้อมูล (sending and receiving device)
2. ช่องทางสื่อสาร (communication channel)
3. อุปกรณ์เชื่อมต่อ (connection device)
4.การกำหนดรูปแบบในการขนส่งข้อมูล (data transmission specification)
ช่องทางสื่อสาร
1. การเชื่อมต่อแบบมีสาย
2. การเชื่อมต่อแบบไร้สาย
การเชื่อมต่อแบบมีสาย
สายคู่ตีเกลียวหรือสายโทรศัพท์ (Telephone line)
สายโคแอกเชียล (Coaxial cable)
สายเส้นใยนำแสง (Fiber-optic cable)
การเชื่อมต่อแบบไร้สาย
1. อินฟราเรด (Infrared)
2. สัญญาณวิทยุ (Broadcast radio)
3. Wi-FI (wireless fidelity)
4. ไมโครเวฟ (Microwave)
5. ดาวเทียม (Satellite)
6. GPS
7. บลูทูธ (Bluetooth)
อุปกรณ์เชื่อมต่อ
โมเด็ม (MODEM) เป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณ ย่อมาจากโมดูเลชัน-ดีโมดูเลชัน (Modulation Demodulation)
         1. โมดูเลชัน (modulation) หมายถึง กระบวนการในการเปลี่ยนสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะล็อก
2.     ดีโมดูเลชัน (demodulation) เป็นกระบวนการเปลี่ยนสัญญาณแอนะล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล
ชนิดของโมเด็ม
1. โมเด็มแบบภายนอก (External)
2. โมเด็มแบบภายใน (Internal)
3. โมเด็มแบบพีซีการ์ด (PC Card)
4. โมเด็มแบบไร้สาย (Wireless)
ชนิดของการเชื่อมต่อ
1. หมุนโทรศัพท์ (Dial-up)
2. ดีเอสแอล (Digital Subscriber Line : DSL) หรือ เอดีเอสแอล (Asymmetric Digital Subscriber Line : DSL)
3. เคเบิลโมเด็ม (Cable modem)
4.ดาวเทียม (Satellite/air connection service)
5.     เซลลูล่าร์  (Cellular service)
การขนส่งข้อมูล    
การขนส่งข้อมูล คือ การขนส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปของไฟล์ ภาพ เสียง หรือตัว
อักษร
แบนด์วิดท์
แบนด์วิดท์ (bandwidth) เป็นการวัดความจุของช่องทางสื่อสาร  ซึ่งประสิทธิภาพของการส่งจะขึ้นอยู่กับการส่งผ่านข้อมูลในช่องสัญญาณว่าสามารถส่งได้มากน้อยเพียงใดต่อหน่วยเวลา
ชนิดของแบนด์วิดท์
1.  วอยซ์แบนด์ (voice band)
2.  มีเดียมแบนด์ (medium band)
3.  บรอดแบนด์ (broadband)
โพรโทคอล
โพรโทคอล (Protocol) เป็นข้อตกลงสำหรับการรับส่งข้อมูลในระบบสื่อสาร ซึ่งมีอยู่หลายชนิด แต่โพรโทคอลที่ใช้งานในระบบอินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission control protocol/Internet protocol) โดยจะทำหน้าที่เกี่ยวกับ
การระบุอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล
การเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลระหว่างการรับและส่งข้อมูล
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศและใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกัน
 คำศัพท์เฉพาะที่พบบ่อยเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โหนด (node)
ไคลแอนต์ (client) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์รับบริการ
เซิร์ฟเวอร์ (server ) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการ
ฮับ ( hub)
การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย  (Network Interface Card : NIC)
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS)

2.      การประมวลผลแบบกระจาย (distributed processing)
3.      คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (host computer)
4.      ผู้ดูแลเครือข่าย  (network manager)

ชนิดของเครือข่าย
1. เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่หรือแลน (Local area network)
    - เครือข่ายเฉพาะที่ภายในบ้าน (Home network)
    - WLAN
2. เครือข่ายบริเวณนครหลวงหรือแมน (Metropolitan  area network)
3. เครือข่ายบริเวณกว้างหรือแวน (Wide area network)
สถาปัตยกรรมเครือข่าย
สถาปัตยกรรมเครือข่าย (network architecture)  เป็นการอธิบายเกี่ยวกับ
โครงร่างเครือข่ายแบบต่างๆ
วิธีการเชื่อมต่อเครือข่าย
ลักษณะการใช้งานเครือข่าย
การแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ
สามารถแบ่งออกได้ 4 แบบ ตามรูปแบบของการเชื่อมต่อหรือที่เรียกว่า โทโพโลยี (topology)

1. แบบดาว     Star
2. แบบบัส      Bus
3. แบบวงแหวน Ring
4. แบบลำดับชั้น Hierarchical

โทโพโลยีแบบดาว
1.      การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งหรืออุปกรณ์ต่อพ่วงเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ส่วนกลาง
2.      การสื่อสารทำได้โดยการขนส่งข้อมูลเข้าออกไปยังส่วนกลาง ซึ่งจะถูกควบคุมโดยการหยั่งสัญญาณ (polling) นั่นคือแต่ละอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายจะมีการถาม หรือการหยั่งสัญญาณว่ามีเครื่องหนึ่งเครื่องใดส่งสัญญาณอยู่ในระบบหรือไม่
โทโพโลยีแบบบัส
1.      คือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันบนสายเส้นเดียวกันตลอดทั้งสายสัญญาณ  การส่งข้อมูลจะผ่านไปในสายที่เชื่อมต่อที่เรียกว่าบัส (BUS)
2.      ข้อมูลที่ส่งผ่านไปในบัส จะถูกตรวจสอบโดยอุปกรณ์แผ่นวงจรเครือข่ายที่ติดอยู่ที่คอมพิวเตอร์แต่ละตัวว่าเป็นข้อมูลของตนเองหรือไม่ ถ้าใช่ก็สามารถเปิดดูข้อมูลนั้นได้
โทโพโลยีแบบวงแหวน
1. จะมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวงกลม
2. ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์บริการไฟล์หรือคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง
โทโพโลยีแบบลำดับชั้น
1.      ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางคล้ายกับเครือข่ายแบบดาว
2.      คอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่อยู่สูงที่สุดของชั้นจะเป็นเมนเฟรม คอมพิวเตอร์ชั้นล่างของเมนเฟรมอาจจะเป็นมินิคอมพิวเตอร์ และชั้นล่างสุดอาจจะเป็นไมโครคอมพิวเตอร์
ลักษณะการใช้งานระบบเครือข่าย
สามารถแบ่งลักษณะการใช้งานระบบเครือข่ายได้ดังนี้
1.    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ปลายทาง (Terminal)
2.    ระบบเครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ (Client/Server)
3.    ระบบเครือข่ายแบบโหนดจุด
          4.  (Peer-to-peer)
อินเทอร์เน็ตสำหรับองค์กร
อินทราเน็ต (Intranet)
จะต้องมีรหัสบัญชีผู้ใช้
ใช้งานเฉพาะภายในองค์กร
เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet)
ใช้งานเฉพาะภายในองค์กร และ สามารถกำหนดสิทธิให้เข้าถึงองค์กรอื่นได้
ไฟร์วอลล์ (Firewall)
เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย ทั้งจากภายนอกและภายในเครือข่าย